วิเคราะห์ใครพร้อมนั่งเก้าอี้ "ขุนคลัง"คนใหม่แทนนายปรีดี ดาวฉาย ที่ยื่นหนังสือลาออก ขณะที่เสียงสะท้อนจากหลายฝ่าย มีความเป็นไปได้สูงที่นายสันติ พร้อมพัฒน์ จะเลื่อนชั้นขึ้นจาก รมช. และคงต้องจับตาหลังจากนี้
กรณีการลาออกของนายปรีดี ดาวฉาย พ้นจากรมว.คลังเมื่อวันที่ 1 ก.ย.ที่ผ่านมา แม้ว่าจะด้วยปัญหาสุขภาพ หรือจริงๆแล้ว มีปัญหาความขัดแย้งกันเกิดขึ้น ย่อมต้องถอดรหัสการตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งของนายปรีดี มาทบทวนเป็นบทเรียน และเป็นเหตุผลประกอบการพิจารณาเลือกผู้เข้ามารับหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่
ในขณะที่เลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ ย้ำว่าตำแหน่ง "รมว.คลัง" จะยังคงเป็นโควต้าของนายกรัฐมนตรี แต่สำหรับนายสันติ พร้อมพัฒน์ ก็แสดงความพร้อมที่จะเปลี่ยนเก้าอี้ จากรัฐมนตรีช่วย เป็นรมว.คลัง
ถ้าประมวลจากเสียงสะท้อนของหลายๆฝ่าย ก็น่าจะเป็นไปได้สูง ที่นายสันติ พร้อมพัฒน์ จะเลื่อนชั้นขึ้น เพราะการต่อรองทางการเมืองสูงขึ้นแล้ว และพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็มีทางเลือกน้อยลงแล้วด้วย
ลองนึกภาพดู เมื่อครั้งที่พรรคพลังประชารัฐปรับโครงสร้างพรรคครั้งใหญ่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เป็นหัวหน้าพรรคตอนนั้น นายสันติ พร้อมพัฒน์ ก็เป็นเต็งหนึ่ง ที่จะนั่งเลขาธิการพรรค แต่ก็จำเป็นต้องจัดสรรตำแหน่งให้น้องๆ เด็กๆไป ทั้งที่เทียบบารมีกันแล้วก็ "สูสี-สมน้ำ-สมเนื้อ" ทางการเมืองว่ากันว่า มีบิ๊กป้อม ก็ต้องมีเสี่ยอู้ แต่บทสรุปตอนนั้นผิดหวัง เพราะการปรับครม.ประยุทธ์ 2/2 ก็อยู่ที่เดิม
นายสันติ พร้อมพัฒน์ รมช.กระทรวงการคลัง ระบุว่า ในฐานะที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำประเทศ และพล.อ.ประวิตร เป็นหัวหน้าพรรค ทั้ง 2 ผู้ใหญ่ จะเป็นผู้ตัดสิน ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีที่คร่ำหวอดในเศษฐกิจทั้งภาวะปกติ เดินไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว และในภาวะวิกฤติแบบนี้ต้องทำงานทันที
ความกดดันผมก็ทำงานผ่านมาเกินกว่า 1 ปี และในอดีตเคยผ่านงานกระทรวงใหญ่ เช่น กระทรวงคมนาคม เมื่อ 10 ปีก่อน และงานที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมมั่นคงของมนุษย์ ที่ต้องทำงานกับประชาชน เรามีความเชี่ยวชาญ และมีภูมิต้านทานจะรับแรงเศรษฐกิจแบบนี้
อ่านข่าวเพิ่ม จับตา "ปรีดี ดาวฉาย" ร่อนหนังสือลาออกอ้างปมสุขภาพ
และถ้าวิเคราะห์ นายสันติ พร้อมเปลี่ยนเก้าอี้ "จากช่วย-เป็นว่าการ" จากเลียบๆ เคียงๆ ขอเป็นเจ้ากระทรวงเองงานในยุคของ 4 กุมารก็รู้หมด ประสบการณ์ก็ไม่ใช่น้อยแถมอยู่กับ "คลัง" มาโดยตลอด
หรือจะมากกว่านั้น ก็ทำหน้าที่ ด่านหน้าเรื่องงบฯ ปี 2564 อยู่ พร้อมเดินหน้าเรื่องเรือดำน้ำ แค่นายกรัฐมนตรี สั่งก็เห็นชอบ-รับรองงบฯให้ไปซื้อลำที่ 2 และ 3 ได้ แต่นายกรัฐมนตรี กลับบอกให้ถอยเอง
ถ้าประมวลถอยแถลง ก็ต้องตั้งข้อสังเกตไว้ แต่ละคนมีนัยยะทางการเมืองแฝงอยู่หรือไม่ พล.อ.ประวิตร ที่บอกขึ้นอยู่กับนายกรัฐมนตรี ตัดสินใจ
ถ้าตีความเป็นภาษาการเมืองน่าจะคล้ายๆ การชี้ให้เห็นว่า "ปรีดี ดาวฉาย" ก็นายกรัฐมนตรี เลือก เข้ามาเอง หรือจะลองตีความคำยืนยันของเสี่ยแฮงอีกคน "อนุชา นาคาศัย" ในฐานะเลขาธิการพรรคพลังประชารัฐ ก็บอกว่า ยังคง "โควต้า" ให้นายกรัฐมนตรี เหมือนเจตนาจะตอกย้ำภาพของปัญหาให้ชัดขึ้น
ประมวลเหตุผลที่มากกว่าปัญหาสุขภาพ กรณีการตัดสินใจของนายปรีดี หลายคนตั้งข้อสังเกตตรงกัน "แรงกดดันทางการเมืองต่ำ" ไหม? หรือมากกว่านั้นคือ "แรงกดดันในการบริหารต่ำ"หรือไม่ เมื่อ 2 กรณีบรรจบกันจึงกลายเป็นสารเร่งให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ
แรงกดดันทางการเมือง ก็ไม่มีอะไรมากเพื่อนร่วมกระทรวงเป็นอย่างไร รัฐมนตรีช่วย-ข้าราชการ-ทีมงานเข้ากันได้หรือไม่ ส่งเสริม-สนับสนุนกันแค่ไหน เพราะนายปรีดี เป็นรัฐมนตรีคนนอก และเป็นคนนอกที่เข้ามานั่งเก้าอี้ตัวร้อนเพราะว่าคนในหวังจะต้องขยับขึ้น แต่ผิดหวัง
แรงกดดันในทางบริหาร ก็ไม่ใช่อะไร ตัวเลขในทางเศรษฐกิจเป็นยังไงบ้าง การเงินการคลังยังคงมั่นคงหรือไม่ เศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างไร เพราะใครๆ ก็รู้อยู่แล้วว่าติดลบ และอยู่ในช่วงที่ต้องช่วยกันฟื้นฟู โดยเฉพาะในช่วง 3 เดือนนี้ที่ท้าทายรัฐมนตรีใหม่ถอดด้ามอยู่
ถ้าย้อนกลับไปจะพอเห็นภาพว่าก่อนปรับ โครงสร้างพรรคพลังประชารัฐ ก่อนปรับ ครม.ประยุทธ์ 2/2 การเมืองในพรรค และใน ครม.แรงแค่ไหน คงต้องบอกว่า แรงขนาดว่า คนในพรรคเอ่ยปากประเมินมาค่ะว่า คนผิดหวัง อาจเคลื่อนไหวกันในแบบ "อาฟเตอร์ช็อก" พอถามไปในรายละเอียด นายสมศักดิ์ เทพสุทิน แกนนำพรรคพลังประชารัฐ ระบุว่า ก็บ่ายเบี่ยงกลายเป็นสื่อฯ ถามไปสื่อเขียนกันไปเอง
เป็นคำถามของสื่อมวลชน ผมไมได้พูดคำนี้เลย ในพรรคพลังประชารัฐ พูดคุยกันทั้งหมดแล้ว มีนโยบายชัดเจน จะไม่มีเสียใจอะไรทั้งสิ้น เราเชื่อมั่นในการนำของนายก และเชื่อว่าจะทำงานต่อไปอย่างมีความสุข
งานนี้เป็นอาฟเตอร์ช็อกด้วยหรือไม่ แต่ ลาออก"ปุ๊บ" มีราชกิจจาประกาศ "ปั๊บ" เหมือนจะยอมรับในเงื่อนไขว่าเดินไปด้วยกันไม่ได้ ยอมรับกับสิ่งที่เกิดขึ้น คือการแยกออกไปหรือลาออก และคงต้องยอมรับในสถานการณ์ด้วยค่ะ คือนายกรัฐมนตรีควบคุมทั้งหมดไม่ได้
รัฐบาลเลือกตั้งที่มีนักการเมืองร่วมงานอยู่ด้วย การต่อรองทางการเมืองก็จะสูง
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปมใหม่! บีบ "ปรีดี" ลาออกขัดแย้งในกระทรวงคลัง
"ประยุทธ์" เผย "ปรีดี" ลาออกมีปัญหาสุขภาพ ไร้ปัญหาทำงาน
"นั่ง" - Google News
September 03, 2020 at 01:31PM
https://ift.tt/3jHh0s9
ใครพร้อมนั่งเก้าอี้ "ขุนคลัง" คนใหม่ - ข่าวไทยพีบีเอส
"นั่ง" - Google News
https://ift.tt/36QWD6y
No comments:
Post a Comment